ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์
บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม
และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว “กวย”
หรือ “ส่วย” นิยมเลี้ยวช้างมาแต่โบราณกาล
เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร
ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ
นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน)
เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว
การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน
โดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมการแสดง
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ
และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๔๘
รูปแบบการแสดงในงาน
|
ถ้าหากท่านสนใจที่จะชมโขลงช้างบ้านนับร้อยเชือก...ต้องการดูวิธีการเซ่นผีปะกำซึ่งเป็น
กรรมวิธีเก่าแก่ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษชาวกูยนานนับศตวรรษ...ต้องการชมประเพณีและ
วิถีความเป็นอยู่ของชาวกูย ท่านไม่ผิดหวังแน่นอนหากได้แวะมาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ใน
ช่วงเทศกาล “งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์”
|
เทศกาลงานช้างของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน
ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้น เพื่อ
สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่หลั่งมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ยังคงผูกเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ โดยในการแสดงนั้นได้จัดแสดงถึงความ
สัมพันธ์ของคนกับช้างไว้เป็นฉากๆ ดังนี้